1. ท่านสามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในองค์กรของท่านได้อย่างไร บอกกรอบความคิด ขั้นตอนผลกระทบให้เห็นกระบวนการคิดของท่านทั้งระบบ
ตอบ ข้าพเจ้าสามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในองค์กรของข้าพเจ้าได้ดังนี้
ข้าพเจ้าปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้างานห้องสมุดอยู่โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ ฉนั้นระบบสารสนเทศในองค์กรของข้าพเจ้ามีความสำคัญมากในด้านข่าวสารข้อมูล ห้องสมุดจะต้องเป็นสถานที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับครูและนักเรียนให้มากที่สุดและครบวงจร เพื่อให้ห้องสมุดได้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีข้อมูลสารสนเทศที่สมบูรณ์ที่สุด
กรอบความคิดและขั้นตอนในการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์กร ของข้าพเจ้าคือต้องกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ วัตถุประสงค์ ทิศทางในการดำเนินงานห้องสมุด ว่ามีกรอบความคิดอย่างไร เพื่อสร้างความมั่นคง และเจริญก้าวหน้าขององค์กร
เมื่อกำหนดกรอบความคิดอย่างชัดเจนแล้ว ข้าพเจ้าก็วางแผนกำหนดแนวทางในการดำเนินงานว่าจะนำองค์กรไปในทิศทางใด จะส่งเสริมและพัฒนาให้มีการนำเทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับหน่วยงานทั้งเรื่องการปฏิบัติงานและการบริการได้อย่างไรบ้าง มีผลกระทบอย่างไร
ข้าพเจ้าจะศึกษาทั้งข้อมูลภายในองค์กร ในเรื่องการดำเนินงาน ผลของการดำเนินงานรวมทั้งข้อมูลนอกองค์กรที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน เช่น จากสื่อต่างๆ จากอินเทอร์เน็ต จากการพูดคุยสอบถามผู้รู้ ศึกษาจากกรณีตัวอย่าง จากเอกสาร ตำราต่างๆ
หลังจากนั้นก็นำข้อมูลเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ โดยนำระบบสารสนเทศที่มีประโยชน์ที่สุดและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ห้องสมุดได้อย่างรวดเร็ว ทันใจ เหมาะสมและไม่ยุ่งยาก เช่นนำระบบโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้ในงานบริการยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศและการปฏิบัติงานด้านต่างๆของห้องสมุด บริการสืบค้นข้อมูลหนังสือ จัดห้องอินเทอร์เน็ตให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าอิสระ บริการให้สืบค้นข้อมูลหนังสือผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ฯลฯ
2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการจัดทำแผนแม่บทด้านไอซที (ICT) ฉบับที่ 2 ของรัฐบาลไทยจงสังเคราะห์ความรู้จากแผนแม่บทมาเป็นคำอรรถาธิบายให้แจ้งชัด
ตอบ ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับการจัดทำแผนแม่บทไอซีที (ICT) ฉบับที่ 2 ของรัฐบาลไทยเนื่องจากปัจจุบันนั้นสังคมโลกให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางด้าน ICT เป็นอย่างมาก
รัฐบาลของแต่ละประเทศต่างทุ่มทุนมหาศาล เพื่อพัฒนาคุณภาพของคนให้ทันกับความก้าวหน้าของ ICT ในโลกของ ICT หรือความรู้ไร้พรมแดนไร้ขีดจำกัดนี้ ถ้ารัฐบาลกำหนดแผนเม่บทอย่างชัดเจน ในการที่จะเร่งพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพให้มีปริมาณเพียงพอที่จะรองรับการพัฒนาประเทศ เพื่อเข้าสู่สังคมฐานความรู้ และนวัตกรรม รวมทั้งบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารบุคลากรในสาขาอาชีพอื่นๆ เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการและประชาชนทั่วไป ให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิต และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศภายใต้ประสิทธิภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม มีวิจารณญาณ รู้เท่าทันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมโดยรวม
เป็นสิ่งที่รัฐบาลเดินมาถูกทางแล้ว ถ้ารัฐบาลสามารถทำสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้ ตามแผนแม่บทด้านไอซีที ฉบับที่ 2 จะเป็นสิ่งซึ่งทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์รอบด้าน รัฐบาลจะได้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้าน ICT เข้าไปพัฒนาองค์กรให้เจริญก้าวหน้าได้ทุกองค์กร เนื่องจากรัฐบาลกำหนดมาตราฐานในการพัฒนาบุคลากรไว้ 3 กลุ่มอย่างชัดเจนอยู่แล้วดังนี้
1. พัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารรวม 2 กลุ่ม
1.1 กลุ่มแรกคือ ผู้ที่ศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา โดยเน้นการพัฒนาให้ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยมีมาตราการสนับสนุนพัฒนาอาจารย์ผู้สอนด้าน ICT ให้สามารถพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำสิ่งที่มีความก้าวหน้า ด้านต่างๆของระบบ ICT มาใช้สอนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลให้มากยิ่งขึ้น
1.2 กลุ่มที่2คือ ผู้ที่ปฎิบัติงานอยู่แล้วในภาคอุตสาหกรรม ให้มีความรู้ทักษะและมีศักยภาพ ให้สูงมากยิ่งขึ้น โดยการจัดอบรมมาตราฐานวิชาชีพ
2. พัฒนาบุคลากรในสาขาวิชาชีพอื่นๆและบุคลากรทั่วไป
2.1 ส่งเสริมให้มีการนำ ICT มาใช้เป้นเครื่องมือในการสอนในระบบทุกระดับ รวมทั้งพัฒนาครูให้มีทักษะ ด้านICT ปรับหลักสูตรการเรียนการสอน
2.2 พัฒนาความรู้ ICT นอกสถาบันการศึกษาเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต จัดให้มีแหล่งเรียนรู้ ICT ของชุมชน จัดอบรมผู้ใช้บริการ
2.3 พัฒนาทักษะ ICT แก่แรงงานในสถานประกอบการ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ จาก ICT ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในการทำงาน
2.4 พัฒนา ICT แก่ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้สูงอายุ จัดทำและเผยแพร่ อุปกรณ์ ICT สื่อการเรียนรู้ ดิจิทัลสำหรับผู้ด้อยโอกาส
2.5 พัฒนาความรู้และทักษะด้าน ICT แก่บุคลากรภาครัฐ โดยมีการกำหนดมาตราฐานความรู้ ICT สำหรับบุคลากรภาครัฐทุกระดับ
3. มาตราการสนับสนุนอื่นๆเพื่อสร้างพัฒนาคน ในวงกว้าง เช่นการพัฒนาระบบ ฐานข้อมูลกำลังคน ด้าน ICT ของประเทศ เพื่อใช้ประกอบในการวางแผนด้านการพัฒนากำลังคน
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมีประโยชน์อย่างยิ่ง ทุกองค์กรจะได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึง และทำให้การปฏิบัติงานบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้อย่างชัดเจน สามารถปฏิบัติงานต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
3.ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย(กฎหมายที่ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ 2550) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการกระทำควมผิด จงอภิปรายถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องให้เห็นเป็นรูปธรรม
ตอบ . ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับการใช้กระบวนการทางกฏหมายเพื่อแก้ปัญหา อาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการกระทำผิด เนื่องจากการใช้คอมพิวเตอร์ในทุกระบบทุกองค์กรทุกหน่วยงานถ้าใช้อย่างรับผิดชอบ สร้างสรรค์ และใช้เพื่อการปฏิบัติหน้าที่การงานให้เกิด ความสะดวกและรวดเร็วจริงๆนั้น ย่อมเกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้เอง และผู้รับบริการด้วย แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าใช้และไม่สร้างสรรค์ ไม่เกิดคุณภาพ ไร้คุณธรรม จริยธรรม รู้ไม่เท่าทัน คดโกง ไม่ก่อประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ล้วนเป็นภัยทั้งสิ้น เป็นนโยบายต่อรอง สังคม และประเทศชาติ เมื่อกระบวนการทางกฏหมายเอาผิดหรือเป็นบทลงโทษ แก่ผู้ใช้ที่ประพฤติปฏิบัติผิดกฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อแก้ปัญหาด้านต่างๆ ของสังคม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาดาน อาชญากรรม หรือคดีความต่างๆ หรือเรื่องอื่นที่น่าจะเกี่ยวข้อง ล้วนเป็นบทลงโทษที่สมควรแก่การกระทำความผิดทั้งสิ้นที่จะทำให้ผู้ที่ยังไม่เคยทำความผิด เกิดความหวาดกลัว หรือบุคคลที่เคยทำความผิดแล้วก็จะหลาบจำ ไม่กล้ากระทำอีก
จากตัวอย่างที่ข้าพเจ้า ทราบจากข่าวรายวัน ที่ปรากฏให้เห็นทั้งทางสื่อโทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ ล้วนแล้วแต่มีความน่ากลัวทั้งสิ้น
ประเด็นที่ข้าพเจ้าได้รับข่าวจากสื่อเมื่อเร็วๆนี้ คือเรื่องของพนักงานธนาคารแห่งหนึ่ง ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการทำบัญชี สรุปยอดเงินฝากของเจ้าของบัญชี แต่คิดไม่ซื่อ แฮคข้อมูลของลูกค้า จนสามารถถ่ายโอนเงินของธนาคาร เข้าบัญชีของตนเอง มีมูลค่ามหาศาล ถึง 400 ล้านบาท ตอนแรกที่คิดทำก็คงเข้าใจว่าไม่มีใครจับได้ โดยค่อยๆถ่ายโอนเงินจำนวนหลักล้าน ในที่สุดย่ามใจ เห็นว่าไม่มีคนรู้ ไม่มีใครจับได้ ในที่สุดก็คิดทำการใหญ่โดยถ่ายโอนเงินจำนวนมาก โดยการสังเกตุการดำรงชีวิตประจำวัน และการใช้จ่ายส่วนตัวที่มีความผิดปกติ ทำให้เป็นที่สงสัยของเพื่อนร่วมงาน และคนอื่นๆ จนเกิดการตรวจสอบกันขึ้น พบว่ามีความผิดจริง และถูกตำรวจับกุมทันที ฐานกระทำความผิดยักยอกทรัพย์ของธนาคาร ทำให้เกิดความเสียหายทั้งต่อตนเองและองค์กร อีกประเด็นหนึ่งครูสาวในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งของภาคอีสาน พ่อแม่มีฐานะหน้าที่การงานทางสังคมดี ลูกสาวประสบความสำเร็จได้รับรางวัลจากการสอนภาษาอังกฤษ ถึงระดับสูงสุด เรียกว่าระดับเพชร แต่มีความถนัดในด้านการใช้คอมพิวเตอร์มาก ชอบแชด โต้ตอบกับเพื่อชาวต่างชาติ ในที่สุดก็หลงเชื่อหนุ่มชาวต่างชาติคนหนึ่ง จึงนัดพบกันที่กรุงเทพฯ หลอกพ่อกับแม่ว่าเข้ามาอบรม ในที่สุดก็พบหนุ่มที่แชดกัน แต่หน้าตาของหนุ่มคนนี้ไม่ตรงกับที่ส่งรูปให้ จึงตกใจและตัดสินใจกลับบ้าน ในที่สุดหนุ่มคนนี้ก็หลอกล่อให้ไปที่พักหวังจะข่มขืน แต่ครูสาวคนนี้ไม่ยอม ในที่สุดจึงถูกฆ่าตาย พ่อแม่เสียใจอย่างมาก สังคมเสียครูที่มีความรู้ความสามารถของประเทศชาติไปหนึ่งคน สิ่งเหล่านี้เป็นอุทาหรณ์สำหรับทุกคนได้ดี ในการที่จะทำอย่างไรให้รู้เท่าทันเรื่องการใช้คอมพิมเตอร์ในยุคปัจจุบัน
วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552
วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
กินกล้วยป้องกันเกาต์
กล้วยเป็นผลไม้หาง่ายในทุกทีทุกฤดู กล้วยอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก ทั้งวิตามินเอเเละซี ที่สำคัญกล้วยยังมีโพเเทสเซียมถึง 22.6 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวัน
โพเเทสเซียมมีคุณสมบัติในการขับกรดยูริก ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเกาต์ออกจากร่างกาย ดังนั้น การกินกล้วยจึงช่วยป้องกันการเกิดโรคเกาต์ในเเบบง่ายๆได้ เเต่สำหรับคนที่อยากลดความอ้วน เเล้วคิดจะกินกล้วยสุกเป็นอาหารมื้อเย็นนั้นอาจต้องผิดหวัง เพระกล้วยมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตมากถึง 22 เปอเซ็นต์ ถ้าอยากให้ท้องอิ่มเเต่หุ่นยังสวย เปลี่ยนมากินเเอบเปิ้ลจะดีกว่ากันเยอะเลย
วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
กินให้ครบ 5
องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่า การกินผักผลไม้สดให้ครบวันละ 5 ส่วนบริโภคนั้น จะช่วยให้ร่างกายปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บ แต่จากงานวิจัยระดับโลก พบว่าปัจจุบันนี้เรากินผักผลไม้ไม่ครบ 5 ส่วน จึงเป็นเหตุให้เกิดโลกภัยร้ายแรงหลายอย่าง ทำให้อายุสั้นลง โรคภัยที่เกิดจากการกินผักผลไม้ไม่ครบ 5 ส่วนมีมากมาย เช่น โรคมะเร็งที่อวัยวะต่างๆ โรคหัวใจ โรคความจำเสื่อม
กระดูกพรุน เนื้องอก โรคเส้นเลือดในสมอง หอบหืด และโรคเครียด
การกินให้ครบ 5 ส่วนต้องประกอบด้วยผัก 3 ส่วน ผลไม้ 2 ส่วน โดยเป็นผักผลไม้ที่มีเบตาแคดรทีนสูง เช่นผักผลไม้ที่มีสีเหลือง ส้ม แดง วันละ 1 ส่วน ผักผลไม้ที่มีวิตมินซีสูง เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กะหล่ำดาว บรอกโคลี แรดิช เทอร์นิป
อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ส่วน และถ้าจะให้ดีก้ต้องกินผักผลไม้เหล่านี้สลับสับเปลียนไปให้มีความหลากหลาย ร่างกายจึงจะได้รับสารอาหารครบถ้วนมากยิ่งขึ้น รายการต่อไปนี้เป็นปริมาณ 1 ส่วนบริโภค ที่จะช่วยทำให้เราทราบว่า แต่ละวันเราควรกินผักผลไม้
มากน้อยเท่าใด
ผลไม้ขนาดใหญ่ที่หั่นเป็นชิ้นได้ เช่น แตงโม มะละกอ สับปะรด มะม่วง แคนตาลูป 1 ชิ้นใหญ๋
ผลไม้ขนาดกลาง เช่น แอปเปิล กล้วยหอม ส้ม อโวกาโด ลูกแพร์ 1 ผล
ผลไม้ขนาดเล็ก เช่น เสาวรส มะเขือเทศ กีวี พลัม แอพคอต 2 ผล
ผลไม้กล่มเบอรี่ เช่น องุ่น สตอเบอร์รี แบล็กเบอร์รี แบล็กเคอเรนท์ ราสป์เบอร์รี เชอร์รี 1 ถ้วยกาแฟ
ผลไม้กระป๋อง 3 ช้อนโต๊ะ
ผลไม้แท้ทุกชนิด 150 มิลลิลิตร
ผักสลัด เช่นผักกาดหอม ผักกาดขาว ผักกาดแก้ว แตงกวา ขึ้นฉ่าย 1 ถ้วยของหวาน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)